ประวัติการเป็นมา

นับตั้งแต่ปี 2513 อันเป็นปีที่มีการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดหนองคาย เป็นต้นมา สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกเถร) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าอาวาสวัดจักวรรดิราชาวาส ได้ปรารภว่า “ภาคตะวันออกเฉียงเหลือนั้น จังหวัดนครราชสีมามีความเหมาะสมต่อการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์มากที่สุด เพราะเป็นเมืองเอก

เป็นศูนย์กลางทางการศึกษามาแต่เดิม จากคำปรารภและแนวความคิดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดังกล่าวข้างต้น พระเถรานุเถระในจังหวัดนครราชสีมา และในกรุงเทพมหานคร ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา โดยมี พระศรีกิตติโสภณ (เกียรติ สุกิตฺติ) เป็นประธาน ได้ประชุมปรึกษาหารือและเตรียมงานด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา และที่ประชุมมีมติให้คณะสงฆ์ภาค 11 เป็นผู้ดำเนินงานต่อมาปี พ.ศ. 2529 พระเถระผู้ทรงคุณวุฒิ

พร้อมทั้งพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมาและคณะสงฆ์ภาค 11 มีพระพรหมคุณาภรณ์ (พุ่ม กิตฺติสารเถร) เจ้าคณะภาค 11 เจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร พระเทพสีมาภรณ์ (โอกาส นิรุตฺติเมธี)เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาเป็นต้น ได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้ง วิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมาขึ้น เมื่อวันที่ 28มีนาคม พ.ศ. 2529 เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร

และเพื่อให้จัดการศึกษามีความสมบูรณ์แห่งวิทยฐานะตามกฎหมาย พระพรหมคุณาภรณ์ (พุ่ม กิตฺติสารเถร) ประธานสภาวิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา และเจ้าคณะภาค 11 จึงได้ทำหนังสือลงวันที่ 5 ตุลาคม 2529 ไปยังสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อขอให้อนุมัติรับวิทยาลัยสงฆ์นคราชสีมา   เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย และทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2529     และมีมติเป็นเอกฉันท์ อนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา เป็นวิทยาเขตนครราชสีมา   ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2529 เป็นต้นไป และมีมติอนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตฯ

ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นไป โดยมี พระพรหมคุณาภรณ์ (พุ่ม กิตฺติสารเถร)       เป็นประธานสภาวิทยาเขตฯ   พระเทพสีมาภรณ์ (ปัจจุบันเป็น พระธรรมวรนายก)(โอภาส นิรุตฺติเมธี) เป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ.2530-2540 และดำรงค์ตำแหน่งประธานสภาวิทยาเขตนครราชสีมาตั้งแต่ พ.ศ.2540 ถึงปัจจุบัน และ พระราชวิมลโมลี(ดำรง ทิฎฺฐธมฺโม) เป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ.2541 – 2553

ปัจจุบันมี พระพรหมวชิรนายก(โอภาส นิรุตฺติเมธี) เป็นประธานสภาวิทยาเขตฯ

ปัจจุบันมี พระศรีวัชรวิสุทธิ์ (โกวิท อภิปุญฺโญ ป.ธ.๖ ,ดร.)
เป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตนครราชสีมา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ได้เปิดดำเนินการศึกษาเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2530 พร้อมกับทำพิธีเปิดป้ายมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนในคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรก และต่อมา วิทยาเขตนครราชสีมา ได้ดำเนินการขอเปิดการศึกษาในคณะมนุษยศาสตร์ เมื่อปี 2533 คณะครุศาสตร์ เมื่อปี 2534 และคณะสังคมศาสตร์ เมื่อปี 2537 รวมเป็น 4 คณะนับเป็นวิทยาเขตฯแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนครบทั้ง 4 คณะที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยแม่ ปี พ.ศ.2540 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู(ป.ว.ค.) ปี พ.ศ.2547 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ และปี พ.ศ. 2549 เปิดสอนระดับปริญญาโท(พุทธศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

 

แผนการบริหารการศึกษา

1. วางแผนพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและพอเพียงจนสามารถวิเคราะห์ผลให้เห็นภาพรวมของมหาวิทยาลัย

2. วางระบบการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจให้มีความชัดเจน   เหมาะสม   เท่าทันเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

3. ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคล่องตัว

4. พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสถานภาพสมบูรณ์ตามกฎหมาย

มาตรการ

1. กำหนดให้มีการปฏิบัติงาน การติดตามงานและประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานเป็นรายปี
2. กำหนดวิธีการและดำเนินการระดมทุนจจากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ดำเนินการจัดสร้างอาคารเพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการใช้สอย รวมทั้งปรับปรุงระบบในอาคารสถานที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
4. นำคอมพิวเตอร์มาใช้สร้างระบบข้อมูลเพื่อการวางแผนและการบริการ
5. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัย
6. เร่งรัดจัดทำและปรับปรุง กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และ ประกาศ ให้เอื้อต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
7. ปรับปรุงบริหารงานบุคคล โดยกำหนดวิธีการได้มาและพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
8. จัดระบบการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องต่อเนื่องทั้งส่วนของเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
9. จัดระบบการประสานงานในมหาวิทยาลัยให้เป็นเอกภาพและเกิดความร่วมมือซึ่งกันและกัน

แผนการจัดการศึกษา

       มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา มีนโยบายและมาตรการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วิทยาลัยสงฆ์ได้ตั้งไว้ ดังนี้

นโยบาย

1. ผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีคุณภาพที่พึงประสงค์ คือ ให้มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา และสามารถประยุกต์เข้ากับศาสตร์แขนงต่าง ๆ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีโลกทัศน์กว้างไกล มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม
2. ปรับปรุงแนวทางการใช้ทรัพยากรและระบบควบคุมคุณภาพเพื่อผลิตบัณฑิตทุกระดับ ให้มีประสิทธิภาพทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ
3. ขยายการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

มาตรการ

1. พัฒนากระบวยการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเน้นด้านพระพุทธศาสนาเป็นหลัก
2. ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอน ให้มีลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการเรียนรู้ภายใต้คำแนะนำมากขึ้น
3. พัฒนาระบบการเรียนการสอนที่ใช้ในโสตทัศนูปกรณ์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น
4. จัดให้มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบแต่ละสาขาวิชา
5. ดำเนินการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรเทียบเท่าอนุปริญญา
6. ดำเนินการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยให้นิสิตมีประสบการณ์ในการช่วยสอน ทำการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม

การดำเนินการศึกษา

       มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ได้จัดการเรียนการสอนหลายระดับ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ต่ำกว่าปริญญาตรี รวมทั้งการศึกษาพิเศษ ดังนี้

1. ระดับปริญญาตรี
2. ระดับมัธยมศึกษา
3. ระดับการศึกษาพิเศษ

ระดับปริญญาตรี

         มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ได้จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยเปิดการศึกษาคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรก คณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ.2533 คณะครุศาสตร์ พ.ศ.2534 และคณะสังคมศาสตร์ พ.ศ.2536 โดยใช้หลักสูตรการศึกษา 2536 แบ่งออกเป็น 4 คณะ และสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้

1. คณะพุทธศาสตร์ เปิดสอนในสาขาวิชา พระพุทธศาสนา
2. คณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอนสาขาวิชา ภาษาอังกฤษ
3. คณะครุศาสตร์ เปิดสอนสาขาวิชา หลักสูตรและวิธีการสอนสังคมศึกษา และ การสอนภาษาไทย
4. คณะสังคมศาสตร์ เปิดสอนสาขาวิชา รัฐศาสตร์