บทความวิจัย เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชน ฯ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชน

ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

 

พระอุดม ปุณฺณโก

พระเกษม ปญฺญาวชิโร

พระศัสตรา เขมปณฺฑิโต

พระพงษ์พัฒน์ ภทฺรธมฺโม

 

 

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เทศบาลตำบลหัวทะเล เป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดตั้งตามประกาศขอกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๙ ซึ่งประกาศเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งที่สอง ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยประกาศให้เป็น อบต.ชั้น ๕ (ซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ ๑-๓ ล้านบาท) และต่อมาได้มีการประกาศ ของกระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๐ ให้เลื่อนฐานะเป็น อบต. ชั้น ๒ (ซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ ๑๒-๒๐ ล้านบาท) ปัจจุบันนี้ ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ (จัดตั้งพร้อมกับ เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม)ได้ดำเนินการในรูปแบบของการจัดตั้งองค์กรชุมชนมีเกิดจากการร่วมตัวของประชาชนในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเองร่วมกับหน่วยงานภาคส่วน บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในชุมชนให้มีความสุขทางสังคมให้ยิ่งขึ้นไป (www.huathalae.go.th. ๑๙๗๘)

ปัจจุบันกระแสการสร้างความสุขได้รับความสนใจจากต่างประเทศต่างๆ ทั่วโลกสืบเนื่องมาจากความล้มเหลวจากการมุ่งเน้นการเจริบเติบโตในด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยมีการวัดความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ “ผลิตภัณฑ์มวลร่วมภายในประเทศ (Gross Domestic product :GDP);ซึ่งที่ผ่านมาตัววัดนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นดัชนีที่บอกถึงระดับความกินดีอยู่ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการบริโภคของประชาชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ GDP จึงกลายเป็นมาเป็นตัวเลขชี้นำนโยบายของแต่ละประเทศให้ต้องมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลร่วมภายในประเทศต่อหัว แต่ ณ ปัจจุบันนี้กระแสหลักได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการสร้างความสุข โดยให้ความสนใจไปยังดัชนีความสุขมวลร่วมประชาชาติ หรือ Gross National Happiness : GNH (นภาภรณ์ พิพัฒน์, ๒๕๕๐)

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๒๕๕๐) ได้กำหนดแนวคิดมิติต่างๆของทุนทางสังคมเพื่อใช้ในการวัดทุนทางสังคมประกอบด้วยดังนี้

๑. มิติกลุ่มและเครือข่าย กลุ่มเป็นแหล่งที่ปัจเจกชนเข้ามาดาเนินกิจการร่วมกันภายใต้เป้าประสงค์ร่วมกัน กลุ่มเป็นแหล่งให้สมาชิกมีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกันตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและเมื่อกลุ่มมีการเอโยมกับกลุ่มอื่นๆ ก็ก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายระหว่างกลุ่มและสมาชิกของกลุ่มเป็นการขยายโอกาสในการแสวงหาแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือทั้งในด้านข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากรอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้กลุ่มขายตัวและเกิดความเข้มแข็งขึ้นมา

๒. มิติความไว้วางใจและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของชีวิตครอบครัว กลุ่มและสังคมจะมีความสงบและสันติยั่งยืนและเกิดความเจริญเติบโตได้เมื่อสมาชิกมีความไว้วางใจกันและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้กับกิจกรรมเหล่านั้น

๓. มิติกิจกรรมและความร่วมมือการเข้าร่วมกิจกรรมของส่วนรวมในชุมชนของปัจเจกชน เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงบรรทัดฐานของชุมชนนั้นว่ามีความเข้มแงหรืออ่อนแอ ชุมชนที่มีบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมมากย่อมแสดงให้เห็นว่ากฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานของชุมชนได้รับการยึดถือและปฎิบัติอย่างเข้มแข็ง

๔. มิติความสมานฉันท์ทางสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคมและความขัดแย้งและความรุนแรงความสมานฉันท์ทางสังคมเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบถึงระดับการยอมรับในความหลากหลาย ด้านชนชาติและเชื้อชาติมีการไปมาหาสู่กันหรือการเข้าร่วมในประเพณีต่างๆของชุมชนที่ตนเองสังกัด ส่วนความขัดแย้งและความรุนแรง เป็นเงื่อนไขด้านลบที่บั้นทอนทางสังคม

จากดังกล่าวข้างต้นทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสิมา จังหวัดนครราชสีมาเป็นตำบลหนึ่งที่มีสถานที่ทางศาสนาที่สำคัญซึ่งเป็นที่เคารพของประชาชนในท้องถิ่นและประชาชนโดยทั่วไปทำให้ชุมชนมีรายได้จากกินกรรมต่างๆนอกจากนี้ตำบลหัวทะเลยังมีแหล่งโรงงานอุสาหกรรมมากพอสมควร อีกทั้งในภาคการเกษตรก็มีจำนวนมากทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดดารพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการวิจัยในเรื่องความสุขควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นของชุมชน และอีกเหตุผลสำคัญ คือ เนื่องจากผู้วิจัยได้อาศัยอยู่ในตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา จึงมีความสนใจที่จะวิจัยในเขตพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนของผู้วิจัยด้วย

 

วัตถุประสงค์การวิจัย

๑. เพื่อการศึกษาระดับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

๒. เพื่อการศึกษาระดับทุนทางสังคมของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

๓. เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

 

ความสำคัญของการวิจัย

๑. ทำให้ทราบถึงระดับทุนทางสังคมของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

๒. ทำให้ทราบถึงระดับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

๓. ทำให้ทราบถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

 

ขอบเขตของการวิจัย

๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

๑.๑ ประชากรในพื้นที่ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๑๓,๐๐๐ คน

๑.๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ๙๐ คน

๒. ตัวแปรศึกษาประกอบไปด้วย

๒.๑ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น คือตัวแปรทุนทางสังคมในด้านต่างๆทั้งสี่ด้านของประชาชนตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาประกอบไปด้วยดังนี้

– ด้านกลุ่มและเครือข่าย

– ด้านความไว้วางใจ

– ด้านกิจกรรมและความร่วมมือ

– ด้านความสมานฉันท์

๒.๒ ตัวแปรตาม คือความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมาได้แบ่งออกเป็น ๔ ด้านคือ

– ความสุขด้านรายได้

– ความสุขด้านการงาน

– ความสุขด้านสุขภาพ

– ความสุขด้านค่านิยมส่วนบุคคล

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรต้น                                                                 ตัวแรตาม

ทุนทางสังคมของประชาชน

– ด้านกลุ่มและเครือข่าย

– ด้านความไว้ว่างใจ

– ด้านกิจกรรมและความร่วมมือ

– ด้านความสมานฉันท์

ความสุขของประชาชน

– ความสุขด้านรายได้

– ความสุขด้านการงาน

– ความสุขด้านสุขภาพ

– ความสุขด้านค่านิยมส่วนบุคคล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมมติฐานของการวิจัย

ทุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

๑. ทุนทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ในแนวราบหรือแนวดิ่งของกลุ่มคน สถาบัน ชุมชนหรือกลุ่มเครือข่าย เพื่อช่วยเหลือ เกื้อกูลดูแลคนในชุมชนด้วยกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนของสังคมและชุมชนต่างๆให้มีความสามารถในการจัดการกับปัญหาและสามารถพึ่งตนเองได้

๒. ความสุข คือ ความรู้สึกพึงพอใจ ความสบายใจหรือความต้องการสู้สุดของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลซึ่งเป็นความรู้สึกที่ดีหรือความรู้สึกเชิงบวก

๓. ประชาชนในเขตตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา คือประชาชนหรือบุคคลผู้ที่อาศัยอยู่ หรือมีแหล่งพำนักในเขตหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

๑. ประชากร

ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๑๓,๐๐๐ คน

            ๒. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๙๐ คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยแบ่งออกเป็น ๓ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่เกี่ยวกับผู้สอบถาม

ส่วนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับทุนทางสังคมของประชาชนบ้านหัวทะเลของผู้สอบถาม จำนวน ๒๐ ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประกอบค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ โดยมีเกณฑ์ให้คะแนนดังนี้

ระดับคะแนน                       การแปลความหมาย

ระดับ ๑          หมายถึง                   น้อยที่สุด

ระดับ ๒         หมายถึง                   น้อย

ระดับ ๓                   หมายถึง                   ปานกลาง

ระดับ ๔                   หมายถึง                   มาก

ระดับ ๕                   หมายถึง                   มากที่สุด

ส่วนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความสุขของประชาชนบ้านหัวทะเลของผู้สอบถาม จำนวน ๒๐ ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประกอบค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ โดยมีเกณฑ์ให้คะแนนดังนี้

ระดับคะแนน                       การแปลความหมาย

ระดับ ๑          หมายถึง                   น้อยที่สุด

ระดับ ๒         หมายถึง                   น้อย

ระดับ ๓                   หมายถึง                   ปานกลาง

ระดับ ๔                   หมายถึง                   มาก

ระดับ ๕                   หมายถึง                   มากที่สุด

การสร้างแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี จากตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชน แล้วนำเนื้อหามาวิเคราะห์หาแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม

๒. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเรียบเรียง และสร้างแบบสอบถามเป็นรายข้อ ประกอบด้วยดังนี้

๒.๑ ด้านทุนทางสังคม ประกอบไปด้วย

๒.๑.๑ ด้านกลุ่มเครือข่าย

๒.๑.๒ ด้านความไว้วางใจ

๒.๑.๓ ด้านกิจกรรมและความร่วมมือ

๒.๑.๔ ด้านความสมานฉันท์

๒.๒ ด้านความสุข ประกอบไปด้วย

๒.๒.๑ ด้านรายได้

๒.๒.๒ ด้านการงาน

๒.๒.๓ ด้านสุขภาพ

๒.๒.๔ ด้านค่านิยมส่วนบุคคล

๓. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น เสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อพิจารณาตรวจแก้ไขและให้ข้อเสนอแนะ

๔. นำแบบสอบถามที่ปรับแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่านเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสอบถาม แล้วนำผลการตรวจสอบมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence: IOC)

๕. นำแบบสอบถามไปปรับปรุงแก้ไขตามผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ เพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลต่อไป

 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วนตนเอง ในระหว่างวันที่ ๒๕ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ – วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗

 

 

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้

๑. วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามใช้วิธีการแจกแจงความถี่และการคำนวณค่าร้อยละ

๒. วิเคราะห์ระดับการนำหลักการใช้หลักความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชน โดยการคำนวณค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ซึ่งมีเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยระดับหลักทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนดังนี้

๔.๕๑-๕.๐๐ หมายถึง ทุนทางสังคม / ความสุขของประชาชน มากที่สุด

๓.๕๑-๔.๕๐ หมายถึง ทุนทางสังคม / ความสุขของประชาชน มาก

๒.๕๑-๓.๕๐ หมายถึง ทุนทางสังคม / ความสุขของประชาชน ปานกลาง

๑.๕๑-๒.๕๐ หมายถึง ทุนทางสังคม / ความสุขของประชาชน น้อย

๑.๐๐-๑.๕๐ หมายถึง ทุนทางสังคม / ความสุขของประชาชน น้อยที่สุด

๓. วิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชน โดยการหาค่าสหสัมพันธ์

 

สรุปผลการวิจัย

            ๒. ระดับทุนทางสังคมของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

ระดับทุนทางสังคมของประชาชนตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านกิจกรรมและความร่วมมือ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านความไว้วางใจ

            ๓. ระดับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา

จังหวัดนครราชสีมา

ระดับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านค่านิยมส่วนบุคคล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านรายได้

            ๔. ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมและความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมและความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ได้ค่าสหสัมพันธ์ .๘๐๐ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๐๐ แสดงว่า ทุนทางสังคม (X) และความสุข (Y) ของประชาชนมีความสัมพันธ์กันจริง

 

 

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยจึงขอแสนอแนะดังนี้

๑. ข้อเสนอแนะทั่วไป

๑.๑ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา ควรหาแนวทางพัฒนาทุนทางสังคมของประชาชนในตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา ในด้านความไว้วางใจ เพราะมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

๑.๒ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา ควรหาแนวทางพัฒนาความสุขของประชาชนในตำบลหัวทะเลอำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา ในด้านรายได้ เพราะมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

๒. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

๒.๑ ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลในหลากหลายด้าน อันจะนำไปสู่การพัฒนาทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนได้อย่างแท้จริง

๒.๒ ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเลอำเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาในเชิงลึก เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต เพื่อจะได้จ้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชน

๒.๓ ควรศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ได้รูปแบบและวิธีการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชนได้อย่างเหมาะสม

 

บรรณานุกรม

ชวินทร์ ลีนะบรรจง และคนอื่นๆ. (๒๕๔๗). การจัดทำกรอปตัวชี้วัดทุนทางสังคมไทย :

           รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สถานบันวิจัยและให้คำปรึกษา

แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพย์ วรรณทองแสง. (๒๕๕๒). การสำรวจทุนทางสังคมของชุมชนในชนบท :

            กรณีศึกษาชุมชนบ้านสามพระยา ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ

          จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาศิลปากร.

นภาภรณ์ พิพัฒน์. (๒๕๕๐). เปิดโลกความสุข GNH. กรุงเทพฯ : มติชน.

นิศานาถ ถิ่นทะเล. (๒๕๕๐). การวัดความสุขของประชาชน : กรณีศึกษาเขตพื้นที่

          องค์การบริหารส่วนตำบลยาวน้อย อำเภอเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา.

รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ. (๒๕๔๙). วาทกรรมทุนทางสังคม : กระบวนการสร้างแนวคิดและ

           ปฏิบัติการในบริบทการพัฒนาของไทย (พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๖).

วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิริยะ ผลพิรุฬห์ และปังปอนด์ รักอำนวยกิจ. (๒๕๕๐). ความสุขกายสบายใจ

           ของคนเมือง. นครปฐม : ประชากรและสังคม.

เริงชัย ตันสุชาติ. (๒๕๕๑). ดัชนีความสุขและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

          อำเภอสันทราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (๒๕๔๘). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้

เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

สุจินดา สุขกำเนิด. (๒๕๔๒). ทุนทางสังคม : การกู้วิกฤตชุมชนอีสาน. กรุงเทพฯ :

คลังนานวิทยา.

อเนก นาคะบุตร. (๒๕๔๕). ทุนทางสังคมและประชาสังคมในเมืองไทย. กรุงเทพฯ :

สำนักกองทุนเพื่อสังคมธนาคารออมสิน.

อุดม บัวเกษ. (๒๕๔๘). ทุนทางสังคมในอำเภอวังหิน จังหวัดศรีษะเกษ.

วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยา

สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.