rolex imitacion
aufblasbare wasserrutschen
ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) ปางมารวิชัย
เชื่อกันว่ามีอาณาจักรหนึ่งรุ่งเรืองอำนาจขึ้นบนเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ อาณาจักรนี้บางครั้งก็ได้ครอบครองแหลมมลายูและดินแดนบางส่วนทางภาคใต้ของประเทศไทย นักปราชญ์ทางโบราณคดีเรียกชื่ออาณาจักรนี้ว่าศรีวิชัยตามศิลาจารึกที่ค้นพบ และศิลปกรรมซึ่งเกิดขึ้นทางภาคใต้แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทยขณะนั้นก็ได้รับชื่อว่าศิลปะแบบศรีวิชัย
ศิลปะศรีวิชัยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ-เสนะตามลำดับ ศิลปะแบบศรีวิชัยในประเทศไทยส่วนมากสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายานทั้งสิ้น ศิลปะแบบศรีวิชัยในภาคใต้ของประเทศไทยคงมีอายุอยู่ลงมาจนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อันเป็นเวลาที่ดินแดนแห่งนี้ได้เข้ารวมอยู่ในอาณาจักรสุโขทัย สำหรับงานศิลปะแบบศรีวิชัยที่มีปรากฏอยู่ ได้แก่
ประติมากรรมในศิลปะแบบศรีวิชัยได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสลักด้วยศิลาและค้นพบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รูปที่ ๑) ซึ่งเป็นประติมากรรมที่น่าจะเก่าที่สุด และยังมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะปะปนอยู่มาก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอีก ๒ องค์ ซึ่งหล่อด้วยสัมฤทธิ์และค้นพบที่อำเภอไชยาเช่นเดียวกัน อยู่ในสมัยต่อมา และดูจะมีอิทธิพลของศิลปะแบบหลังคุปตะและปาละ-เสนะเข้ามาปะปนแล้ว องค์แรกที่เหลือเพียงครึ่งองค์ (รูปที่ ๒) ถือกันว่าเป็นโบราณวัตถุที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แม้พระธยานิพุทธอมิตาภะปางสมาธิองค์เล็กบนศิราภรณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้จะหักหายไป แต่การที่รูปนี้ครองหนังกวางก็อาจหมายความได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัยแปลกกว่าที่อื่นที่มักมีหนังเสือคาดอยู่รอบพระโสณี (ตะโพก) ซึ่งในประเทศอินเดียไม่เคยปรากฏตั้งแต่แรก ลักษณะดังกล่าวบนเกาะสุมาตราและชวาก็มีบ้าง
โบราณวัตถุแบบศรีวิชัยบางชิ้นก็พบในที่ไกลมาก เป็นต้นว่าประติมากรรมที่เชื่อกันว่าเป็นรูปพระเมตไตรยโพธิสัตว์ตามลัทธิมหายาน แต่ปัจจุบันก็มีผู้เสนอว่าอาจเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปางประทานปฐมเทศนา (รูปที่ ๓) พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดมหาสารคาม คงมีผู้นำเอาขึ้นไป พระพุทธรูปนาคปรกซึ่งค้นพบที่วัดเวียง อำเภอไชยา (รูปที่ ๔) เป็นของแปลกประหลาด เพราะพระพุทธรูปไม่หล่อเป็นปางสมาธิ แต่ทำเป็นปางมารวิชัย ซึ่งมีน้อยมาก เหตุนั้นจึงมีนักปราชญ์บางท่านสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปและนาคนั้น อาจไม่ได้หล่อขึ้นพร้อมกัน เพราะเหตุว่ารูปนี้อาจถอดออกได้เป็น ๓ ชิ้นคือเศียรนาคชิ้นหนึ่ง พระพุทธรูปชิ้นหนึ่ง และขนดนาคอีกชิ้นหนึ่ง แต่ก็อาจจะเชื่อได้ยากอยู่เพราะวางเข้ากันได้พอดี ที่ฐานนาคมีจารึกว่าหล่อขึ้นใน พ.ศ. ๑๗๒๖ อันอาจนับได้ว่าเป็นตอนปลายของศิลปะศรีวิชัย พระพุทธรูปนาคปรกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลของศิลปะขอมหรือลพบุรีเข้ามาปะปนแล้ว ดังอาจเห็นได้จากลักษณะเศียรนาค พระพักตร์สี่เหลี่ยมของพระพุทธรูปและท่านั่งขัดสมาธิราบ รวมทั้งภาษาขอมที่ใช้ในจารึก ในขณะเดียวกัน ลักษณะของศิลปะศรีวิชัยตอนปลายก็มีปรากฏอยู่ด้วย คือพระเกตุมาลาหรือเมาลีเรียบ ไม่มีขมวดพระเกศา มีรัศมีรูปใบโพธิ์ติดอยู่ทางด้านหน้า และชายจีวรเป็นริ้วซ้อนกันเหนือพระอังสาซ้าย ลักษณะหลังนี้ได้คงอยู่นานที่อำเภอไชยาทางภาคใต้ของประเทศไทยจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา
ที่จังหวัดสงขลา ก็ได้ค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหลายชิ้นเช่นเดียวกัน ที่เป็นเทวรูปก็มี เช่น รูปพระอิศวร และรูปท้าวกุเวร (รูปที่ ๕) แต่รูปท้าวกุเวรองค์นี้คงสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน คือเป็นรูปชัมภละ เพราะเหตุว่ามีจารึกคาถาภาษาสันสกฤต “เย ธรฺมฺมา” สลักอยู่บนด้านหลัง นอกจากนี้ก็มีภาชนะดินเผาด้วยที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ได้ค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยเช่นเดียวกัน
พระพิมพ์ที่พบส่วนมากทำด้วยดินดิบ เป็นของที่แตกหักง่าย คงจะไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาดังพระพิมพ์ดินเผาหรือโลหะ สันนิษฐานว่าคงทำตามประเพณีทางลัทธิมหายาน เมื่อเผาศพพระสงฆ์เถระที่มรณภาพหรือบุคคลที่ตายแล้วเอาอัฐิธาตุโขลกเคล้ากับดิน แล้วพิมพ์พระพุทธรูป หรือรูปพระโพธิสัตว์ (รูปที่ ๖) ไว้เป็นพระพิมพ์ดินดิบ เพื่อประสงค์ปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพเป็นที่ตั้ง อัฐินั้นได้เผาครั้งหนึ่งแล้ว จึงไม่เผาอีก
สำหรับสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยนั้นเหลืออยู่น้อยมากเช่นที่ เจดีย์พระบรมธาตุไชยยา วัดมหาธาตุ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่อำเภอไชยาคงเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่สำคัญในสมัยศรีวิชัย เพราะเหตุว่าบรรดาโบราณวัตถุที่กล่าวมาข้างต้นส่วนมากก็ค้นพบที่ไชยาทั้งสิ้น จนถึงมีบางท่านกล่าวว่าเมืองไชยาอาจเป็นราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัยก็ได้(จริงๆแล้วพบหลักฐานงานโบราณวัตถุสถานแบบศรีวิชัยในอินโดนีเซียมากกว่า)
สถาปัตยกรรม
สำหรับสถาปัตยกรรมที่สำคัญของศิลปะศรีวิชัย ก็มีพระบรมธาตุไชยา (รูปที่ ๗) ที่อ.ไชยา สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรดาเจดีย์ในเกาะชวามาก พระบรมธาตุนี้ได้ซ่อมใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทำให้รูปแบบเปลี่ยนไปจากของเดิมบ้าง
hüpfburg mit rutsche
พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนปางมารวิชัย(ทรงเครื่อง)
(ระหว่าง พ.ศ. ๑๖๐๐ – ๒๐๘๙)
พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นของฝีมือช่างไทย ซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศนี้ตั้งแต่โบราณ มีพบทั่วไปในมณฑลพายัพ แต่ที่พบในเมืองเชียงแสนเก่าเป็นชนิดฝีมือช่างดีงามกว่าที่พบในจังหวัดอื่นๆ ทางโบราณคดีจึงใช้คำนี้เป็นชื่อของพระพุทธรูปสมัยนี้ แบ่งออกเป็น ๒ รุ่น คือรุ่นแรกและรุ่นหลัง
รุ่นแรก เป็นแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย ครั้งราชวงศ์ปาละซึ่งเจริญในอินเดียระหว่าง พ.ศ. ๑๒๗๓ ถึง พ.ศ.๑๗๔๐ ครั้งนั้นมหาพุทธวิทยาลัยที่เมืองนาลันทะเจริญรุ่งเรือง เป็นสำนักที่นักปราชญ์ต่างประเทศไปมาอยู่เนืองๆ ฝีมือช่างอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละจึงได้แพร่หลายไปในนานาประเทศฝ่ายตะวันออก มีประเทศพม่าและชะวาเป็นต้น
ช่างทำพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกนี้ ก็คงจะได้แบบอย่างมาจากอินเดียด้วยเหมือนกัน แต่จะได้รับมาตรงจากอินเดีย หรือได้รับต่ิอมาจากประเทศพม่าหรือชะวา ข้อนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปสมัยนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอินเดีย ครั้งราชวงศ์ปาละทุกอย่าง คือพระองค์อวบอ้วน เกตุมาลาเป็นต่อมกลม นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระถัน พระพักตร์กลมสั้น พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลมหรือเป็นก้นหอย ไม่มีไรพระศก ฐานมีบัวรอง มีทั้งบัวหงายบัวคว่ำ มีกลีบแซมและมีเกสร
มีพระพุทธรูปอีกสกุลหนึ่ง patek philippe imitacion เรียกว่าพระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกเกือบทุกอย่าง คือพระเกตุมาลาเป็นต่อม พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น เส้นพระศกใหญ่ นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ในท่ามารวิชัย ไม่มีไรพระศก ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ วงพระพักตร์แบนและกว้างกว่า พระโอษฐ์กว้างกว่า ปลายสังฆาฏิใหญ่และมีหลายแฉก ฐานไม่มีบัวรองหรือมีบัวก็เป็นชนิดใหม่ไม่เหมือนกับบัวเชียงแสน ข้อที่พระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราชเหมือนกับพระพุทธรูปรุ่นแรกนั้น ก็เพราะได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปมาจากครูเดิมอันเดียวกัน คือครั้งราชวงศ์ปาละ แต่ข้อที่แตกต่างกันเล็กน้อยนั้นก็เพราะพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรก เป็นฝีมือช่างไทยเหนือทำตามอย่างพระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละ ส่วนพระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราชเป็นฝีมือช่างไทยใต้ทำเจือปนด้วยแบบขอม คือที่มีพระพักตร์และพระโอษฐ์กว้างนั้นเป็นลักษณะของพระพุทธรูปขอม ด้วยเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ใกล้และมีทางติดต่อกับเมืองลพบุรีมากกว่าเมืองเชียงแสน พระพุทธรูปแบบนี้ที่เป็นพระนั่งมีปางเดียวเท่านั้น คือปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร hüpfburg
พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นหลัง เป็นของไทยชาวลานนาและลานช้าง ทำตามอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะต่างไปจากเชียงแสนชั้นแรกมาก คือทำพระเกตุมาลาเป็นเปลว นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศก ที่แปลกที่สุดนั้นก็คือเกตุมาลาเป็นเปลว พระพุทธรูปตั้งแต่สมัยทวารวดีมาจนถึงสมัยเชียงแสนชั้นแรกทำพระเกตุมาลาสั้นทั้งนั้น เพิ่งจะมีเกตุมาลายาวเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย อันได้รับแบบอย่างมาจากพวกลังกา พระสมัยเชียงแสนชั้นหลังนี้เอาอย่างมาจากสุโขทัยอีกต่อหนึ่ง
พระพุทธรูปสมัยนี้ มีพระนั่งเป็นส่วนมาก พระยืนมีน้อยและสร้างด้วยโลหะเป็นพื้น ชั้นแรกตั้งแต่ราว พ.ศ. ๑๖๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๐๐ ชั้นหลังตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๐๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ คือถึงปีที่พระไชยเชษฐากลับจากเชียงใหม่ไปครองกรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง อันมีเมืองเวียงจันทน์เป็นราชธานี เพราะตั้งแต่นี้ศิลปการทำพระพุทธรูปในลานนาประเทศเสื่อมลง มีแต่พระพุทธรูปฝีมือช่างเลวๆเป็นพื้น อันไม่ควรนับเข้าถึงชั้นศิลป์
พระพุทธรูปสมัยนี้ทั้งรุ่นแรกและรุ่นหลังที่ได้พบแล้ว ทำเป็นปางต่างๆ ๖ ปาง คือ
๑. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร (รุ่นแรก) และขัดสมาธิราบ (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๒. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ (รุ่นหลัง) มีน้อย ทำด้วยโลหะ
๓. ปางอุ้มบาตร (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ
๔. ปางกดรอยพระพุทธบาท (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ
๕. ปางไสยา (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๖. ปางนั่งห้อยพระบาท (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ
พระพุทธรูปศิลปะสมัยทราวดีปางปฐมเทศนา(อินเดียใต้)
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
เป็นองค์พระพุทธรูปที่ถูกขุดพบ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งามที่สุดในโลก
สร้างขึ้นในยุคสมัยคุปตะ (Gupta Period)
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๘๐๐-๑๒๐๐
ซึ่งในยุคนั้นนับว่าเป็นยุคที่มีความเจริญสูงสุดแห่งพุทธศิลป์
แต่ก่อนนี้ประเทศอินเดียมีการประกวดพระพุทธปฏิมา
หากส่งพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้เข้าประกวด
ก็จักได้รับการคัดเลือกว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดทุกครั้งไป
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
จากหนังสือแนะนำศิลปอินเดีย หน้า ๑๐๑
ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีรูปเคารพอื่นใดที่จะสวยงามล้ำลึก
ทั้งในความหมายและรูปแบบทางศิลปะ เทียบได้กับพระพุทธรูปองค์นี้”
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้สร้างขึ้นจากหินทรายแดงเมืองจูนาร์ (Chunar)
มีความสูงจากฐานถึงพระรัศมี ๑.๖ เมตร ขนาดหน้าตักกว้าง ๐.๗๙ เมตร
ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชรบนพระแท่น พระหัตถ์อยู่ในท่าทรงแสดงธรรม
หมายถึงการไขปริศนาธรรมที่ถูกปกปิดมานาน ด้านบนมีพระรัศมีแผ่เป็นวงกลม
ปรากฏเป็นรูปเทวดา ๒ ตนกำลังโปรยดอกไม้บูชาพระพุทธองค์
ตรงกลางฐานองค์พระพุทธรูปแกะสลักเป็นวงล้อพระธรรมจักรอยู่บนแท่น
มีกวางสองตัวหมอบอยู่ทั้งสองข้าง มีรูปพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ขนาบสองข้าง
ด้านซ้ายมีรูปสลักสตรีและเด็ก สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าภาพผู้สร้างองค์พระพร้อมบุตร
พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายปางเปิดโลก
พระเจ้าเปิดโลก หมายถึง เหตุการณ์ที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่เจ็ดของพระองค์หลังจากที่เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรมเทศนา ในโอกาสนั้น ทรงสำแดงฉัพพรรณรังสี เป็นเหตุให้โลก (ภูมิ) ทั้งหลายตั้งแต่พรหมภูมิไปจนถึงนรกภูมิเปิดสว่างจนแลเห็นซึ่งกันและกันได้ ในการนี้ อาจหมายถึง
hüpfburg
เทโวโรหณะ – ชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับเหตุการณ์พระเจ้าเปิดโลก
วันเทโวโรหณะ – วันที่เกิดเหตุการณ์พระเจ้าเปิดโลกในพุทธกาล ตรงกับวันแรม 1 เดือน 11 ตาม ปฏิทินจันทรคติ
วันออกพรรษา – วันสิ้นสุดการจำพรรษาตามคติพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 เดือน 11 (วันก่อนวันเทโวโรหณะ) ของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติ
ตักบาตรเทโว – การทำบุญตักบาตรในวันออกพรรษาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์พระเจ้าเปิดโลก
ปางเปิดโลก – ชื่อพระพุทธรูปท่าหนึ่ง มีกริยาดังพระโคดมเมื่อเสด็จลงจากเทวโลกในเหตุการณ์พระเจ้าเปิดโลก
ความเป็นมาของ ปางเปิดโลก ตามพุทธประวัตินั้น
เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ที่พระสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาโปรดพุทธมารดา จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธองค์ทรงทำโลกวิวรณปาฏิหาริย์ คือ ทรงเปิดโลกทั้ง 3 อันได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษยโลก ให้มองเห็นถึงกันหมดด้วยพุทธานุภาพ เหล่าเทวดาในสวรรค์มองเห็นมนุษย์และสัตว์นรก มนุษย์มองเห็นเทวดาและสัตว์นรก สัตว์นรกมองเห็นมนุษย์และเทวดา แล้วจึงเสด็จลีลาลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่สังกัสสนคร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัยปางเปิดโลก
สมัยสุโขทัย
(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓)
พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค
ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก
ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย
ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
พระพุทธรูปสมัยนี้ทำเกตุมาลายาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มีไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น ๒ แฉกย่น ขัดสมาธิราบ ฐานเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเป็นพื้น ตอนกลางแอ่นเข้าไปข้างใน ผิดกับฐานเชียงแสนซึ่งโค้งออกมาข้างนอก ไม่ใคร่ทำบัว ถ้ามีบัวก็เป็นบัวหงายบัวคว่ำชนิดบัวฐานพระพุทธชินราช ทำเป็นปางต่างๆตามพระอิริยาบถ คือ
๑. ปางไสยา ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น
๒. ปางลีลา ทำด้วยศิลา โลหะและปูนปั้น
๓. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๔. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๕. ปางถวายเนตร ทำด้วยโลหะ
๖. ปางสมาธิ ทำด้วยโลหะ ปางนี้มีน้อยทำแต่มารวิชัยเป็นพื้น
พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย(ปางลีลา)
สมัยสุโขทัย
(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓)
พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค
ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก
ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย
ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
พระพุทธรูปสมัยนี้ทำเกตุมาลายาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มีไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น ๒ แฉกย่น ขัดสมาธิราบ ฐานเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเป็นพื้น ตอนกลางแอ่นเข้าไปข้างใน ผิดกับฐานเชียงแสนซึ่งโค้งออกมาข้างนอก ไม่ใคร่ทำบัว ถ้ามีบัวก็เป็นบัวหงายบัวคว่ำชนิดบัวฐานพระพุทธชินราช ทำเป็นปางต่างๆตามพระอิริยาบถ คือ
๑. ปางไสยา ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น
๒. ปางลีลา ทำด้วยศิลา โลหะและปูนปั้น
๓. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๔. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๕. ปางถวายเนตร ทำด้วยโลหะ
๖. ปางสมาธิ ทำด้วยโลหะ ปางนี้มีน้อยทำแต่มารวิชัยเป็นพื้น
พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย
สมัยสุโขทัย
(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓)
พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค
ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก
ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย parque insuflaveis
ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
พระพุทธรูปสมัยนี้ทำเกตุมาลายาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มีไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น ๒ แฉกย่น ขัดสมาธิราบ ฐานเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเป็นพื้น ตอนกลางแอ่นเข้าไปข้างใน ผิดกับฐานเชียงแสนซึ่งโค้งออกมาข้างนอก ไม่ใคร่ทำบัว ถ้ามีบัวก็เป็นบัวหงายบัวคว่ำชนิดบัวฐานพระพุทธชินราช ทำเป็นปางต่างๆตามพระอิริยาบถ คือ
๑. ปางไสยา ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น
๒. ปางลีลา ทำด้วยศิลา โลหะและปูนปั้น
๓. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๔. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๕. ปางถวายเนตร ทำด้วยโลหะ
๖. ปางสมาธิ ทำด้วยโลหะ ปางนี้มีน้อยทำแต่มารวิชัยเป็นพื้น
พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย(ฐานเรือหงษ์)
สมัยสุโขทัย
(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓)
พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค
ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก
ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย bungee run
ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
พระพุทธรูปสมัยนี้ทำเกตุมาลายาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มีไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น ๒ แฉกย่น ขัดสมาธิราบ ฐานเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเป็นพื้น ตอนกลางแอ่นเข้าไปข้างใน ผิดกับฐานเชียงแสนซึ่งโค้งออกมาข้างนอก ไม่ใคร่ทำบัว ถ้ามีบัวก็เป็นบัวหงายบัวคว่ำชนิดบัวฐานพระพุทธชินราช ทำเป็นปางต่างๆตามพระอิริยาบถ คือ
๑. ปางไสยา ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น
๒. ปางลีลา ทำด้วยศิลา โลหะและปูนปั้น
๓. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๔. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๕. ปางถวายเนตร ทำด้วยโลหะ
๖. ปางสมาธิ ทำด้วยโลหะ ปางนี้มีน้อยทำแต่มารวิชัยเป็นพื้น
พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยาปางมารวิชัย
(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๒๕)
พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นของช่างฝีมือช่างไทยครั้งสมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำแบบอย่างต่างกันเป็น ๒ ยุค ยุคแรกนิยมทำตามแบบขอม แต่เอาอย่างขอมเฉพาะวงพระพักตร์เท่านั้น ยุคนี้เรียกว่าฝีมือช่างสมัยอู่ทอง นับเวลาตั้งแต่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยามาจนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ. ๒๐๓๑)
ลักษณะ เกตุมาลายาว เส้นพระศกละเอียด replicas de relojes rolex มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระหนุป้านเป็นรูปคางคน สังฆาฏิยาว ชายอันตรวาสกข้างบนเป็นสัน ขัดสมาธิราบ ฐานหน้ากระดานเป็นร่องและแอ่นเข้าไปข้างใน ลักษณะเหมือนกันทั้งนั้น ต่างแต่ในชั้นหลังมาทำพระพักตร์ยาวกว่าชั้นก่อนเท่านั้น
ยุคหลังตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔ จน พ.ศ. ๒๓๒๕) ลักษณะ ทำวงพระพักตร์และเกตุมาลาตามแบบอย่างสมัยสุโขทัยทั้งนั้น ต่างแต่โดยมากมีไรพระศก และสังฆาฏิใหญ่ กับถ้าทรงเครื่อง เกตุมาลาทำเป็นอย่างก้นหอยหลายๆชั้นบ้าง เป็นอย่างมงกุฎเทวรูปแบบสมัยลพบุรีบ้างเท่านั้น ทำเป็นปางต่างๆ ดังนี้คือ
๑. ปางไสยา ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๒. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ และสมาธิเพชร(แต่มีน้อย) ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น
๓. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น
๔. ปางประทานอภัย มีทั้งอย่างยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะ
๕. ปางปาลิไลยกะ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น
๖. ปางลีลา ทำด้วยโลหะ