หลักการและการดำเนินการ

ความหมายและความสำคัญ

การประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ ๓ ประการ

  1. ๑. ทำให้บุคคลทั่วไปได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
  2. ๒. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการ บริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
  3. ๓. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและ มาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและ ต่อเนื่อง

การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตาม ภารกิจปกติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้ เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้ เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชาชนในสังคมไทยให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

ประวัติและพัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษา

         มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เริ่มดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี ร่วมกับคณะกรรมการจัดการประชุมเสวนาแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ได้จัดให้มีการประชุมเสวนาการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และชี้แจงถึงความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและวิทยาเขตเข้าร่วมประชุม โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการ ศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมาให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

         การดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก) ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นร่วมกันว่าควรดำเนินการให้เป็นไปตามระบบซึ่งเหมาะสม กับธรรมชาติของ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ซึ่งเวลานั้นก็เป็นช่วงที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) เองก็กำลังดำเนินการปรับเกณฑ์มาตรฐานตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบประกันคุณภาพให้เหมาะสมกับการเรียนการจัดการศึกษาของไทยด้วย

         ในที่สุดคณะกรรมการอำนวยการการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงมีมติเห็นชอบว่า การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ดำเนินการตามระบบ IPOI คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) และปัจจัยผลกระทบ (Impact)

หลักการและการดำเนินการ

  1. ๑. คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ต้องรับผิดชอบร่วมกันในการประกัน คุณภาพการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒
  2. ๒. มีการประสานแผนดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานกับมหาวิทยาลัย
  3. ๓. จัดงบประมาณสนับสนุนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา
  4. ๔. กำหนดผลจากการประกันคุณภาพ สามารถบ่งชี้คุณภาพของบัณฑิต คณาจารย์ การบริการที่เชื่อถือได้ มีคุณค่า และเป็นที่ศรัทธาของสังคม
  5. ๕. กลไกการประกันคุณภาพภายในระดับคณะ วิทยาเขต สถาบัน สำนัก ศูนย์ วิทยาลัย ภาควิชา และหน่วยงานระดับกอง เป็นตัวป้อนที่นำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
  6. ๖. ผู้บริหารต้องมีข้อมูล และผลการประเมินคุณภาพภายในสำหรับส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ
  7. ๗. มีเอกสารสนับสนุนการประเมินคุณภาพการศึกษา ทั้งที่เป็นคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรของมหาวิทยาลัย

หน่วยงานที่ต้องดำเนินการประกันคุณภาพ

  1. ๑. คณะ / วิทยาเขต / วิทยาลัยสงฆ์ / ห้องเรียน ที่มีการบริหารจัดการในด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตเต็มรูปแบบ ต้องมีการจัดทำระบบประกันคุณภาพ โดยยึดตามแนวคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย

  2. ๒. หน่วยงานระดับสถาบัน สำนัก และหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการศึกษา ต้องมีการดำเนินการในระบบประกันคุณภาพตามภารกิจของหน่วยงาน และพร้อมรับการตรวจสอบและประเมินจากคณะกรรมการตรวจสอบและประเมิน ของมหาวิทยาลัย

  3. ๓. สถาบันสมทบ ที่มีการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย จะต้องมีการควบคุม ดูแลให้การเรียนการสอน การบริหาร หลักสูตร และการผลิตบัณฑิตให้ได้มาตรฐานตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวมทั้งจัดทำรายงานการศึกษาตนเองเพื่อรับการตรวจสอบและประเมินจากคณะกรรมการ ตรวจสอบและประเมินของมหาวิทยาลัย

วงจรการประกันคุณภาพ

กลไกของการปรับปรุงการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามวงจรของ P - D - C - A หรือ Plan - Do - Check - Act เป็นจักรเฟืองสำคัญ ซึ่งมีความหมายดังนี้

  • Plan (การวางแผน) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน วิธีการและขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
  • Do (การดำเนินการ) หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ การดำเนินการต่าง ๆ จะเป็นไปตามขั้นตอนหรือระบบงานที่ออกแบบหรือกำหนดไว้ โดยหน่วยงานนั้น ๆ และจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไว้ ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป
  • Check (การตรวจสอบ) หมายถึง การตรวจสอบระบบกลไกของการดำเนินงาน รวมทั้งผลปฏิบัติงานว่าได้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ หรือไม่ หากมีปัญหาหรือจุดอ่อนของการดำเนินงาน ควรได้มีการค้นหาสาเหตุและวางมาตรการในการแก้ไขต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของงาน
  • Act (การปรับปรุงพัฒนา) หมายถึง การวางมาตรการในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินการ เพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวควรเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนการดำเนินการในปีต่อ ไป

รอบเวลาของการดำเนินการในระบบประกันคุณภาพ

         การตรวจสอบคือการติดตามดูว่าผลการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพและการบริ หาร จัดการ การบริการต่าง ๆ ในหน่วยงานเป็นไปตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้หรือไม่ การตรวจสอบจึงเป็นการดูผลงานการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา (โดยปกติ ๑ ปีการศึกษา) ซึ่งแสดงถึงระบบและกลไกยังคงดำเนินการอยู่อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยกระบวนการตรวจสอบสามารถมองเห็นผลการดำเนินการของหน่วยงานในปัจจุบันได้ เป็นอย่างดี และรู้ได้ชัดว่าการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ ก้าวหน้าไปในระดับใด โดยมหาวิทยาลัยจะจัดทำแผนงานประกันคุณภาพประจำปี พร้อมทั้งระบุระยะเวลาการตรวจสอบของหน่วยงานวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน และสถาบันสมทบ แจ้งให้แต่ละแห่งทราบ โดยหน่วยงานนั้น ๆ มีหน้าที่ในการจัดทำแผนงานประกันคุณภาพของหน่วยงานของตนให้สอดคล้องและเสนอ ให้คณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี ได้รับทราบ

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในปัจจุบัน