พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าไทย)

ปางมารวิชัย หน้าไทย

พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าไทย)

พระพุทธรูปสมัยนี้ ได้รับอิทธิพลศิลปผสมผสานกันระหว่างศิลปร่วม ๓ รูปแบบ ได้แก่ ศิลปทวารวดี ศิลปขอมหรือลพบุรี และศิลปสุโขทัย ดังนั้น พระพุทธรูปสมัยนี้ จึงจัดออกได้ตามอิทธิพลศิลปเป็น ๓ แบบ คือ

 

๑. อิทธิพลศิลปทวารวดี และขอม ผสมกัน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘

 

๒. อิทธิพลศิลปขอมหรือลพบุรีมากขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นักโบราณคดีเรียกว่า “อู่ทองหน้าแก่”

๓. อิทธิพลศิลปสุโขทัยเข้ามาปะปน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นักโบราณคดีเรียกว่า “อู่ทองหน้าหนุ่ม”

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง

พระพุทธรูปสมัยอู่ทองมีลักษณะงดงามและกล้าหาญอย่างนักรบ Laser Pointer เข้มแข็งดูน่าเกรงขาม พระวรกายสูงชะลูด พระเศียรมีสัณฐานรูปคล้ายบาตรคว่ำ พระเกศาเป็นหนามขนุนละเอียดกว่าสมัยสุโขทัยมาก มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระพักตร์แบน พระหนุกว้างเป็นรูปคางคน พระเกตุมาลาเป็นเปลวบ้าง เป็นแบบฝาชีครอบบ้าง พระนลาตกว้าง สังฆาฏิสั้นเหนือพระถันคล้ายสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่งก็มี ส่วนใหญ่สังฆาฏิจะแบนยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายสังฆาฏิตัดตรงก็มี เฉียงก็มี เป็นแฉกเขี้ยวตะขาบก็มี มีขอบอันตรวาสก(สะบง)ชัดเจน นั่งขัดสมาธิราบเป็นส่วนใหญ่หรือขัดสมาธิฺเพชรก็มี(มีน้อย) ปางมารวิชัยหรือปางสมาธิ(มีน้อย) ฐานเป็นแบบหน้ากระดาน ๑ – ๒ ชั้นมีสันเกลี้ยงแอ่นเข้าข้างใน และมีทั้งฐานบัวคว่ำบัวหงาย หรือบัวหงายอย่างเดียวอีกด้วย

 

 

Posted in พระพุทธรูป.