พระพุทธรูปสมัยเชียงรุ้งปางมารวิชัย(ล้านช้าง)

มารวิชัย ล้านช้าง
พระพุทธรูปสมัยเชียงรุ้งปางมารวิชัย(ล้านช้าง)

พระยอดธง สมัยเชียงรุ้ง

ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลในการทำศึกสงครามแต่ละครั้ง ไพร่พลที่จะออกรบมักจะสรรหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมหามงคลต่างๆ พกติดตัว ด้วยความเชื่อที่ว่าจะสามารถปกป้องภยันตรายจากข้าศึกศัตรูและรบชนะข้าศึกกลับสู่บ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย ซึ่งความเชื่อนี้ก็ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ตนเอง และนอกจากการสร้างกำลังใจให้ไพร่พลแล้ว ในส่วนของกองทัพสมัยนั้นก็จะมีการเสริมสิริ

มงคลแก่กอง ทัพโดยอาราธนาพระพุทธรูปลอยองค์ 1 องค์ มาเสียบไว้ที่ยอดธงประจำทัพในแต่ละทัพ เราเรียกกันว่า “พระยอดธง”

ตำนานการสร้างพระชัยเชียงรุ้ง พระชัยหลังช้าง พระชัยยอดธง กล่าวกันว่า หากผู้ใดได้สร้างพระชัยเชียงรุ้ง ตามตำราโบราณไว้สักการะบูชา ผู้นั้นจะมีชัยชนะ แก่อธิราช ศัตรู หมู่มาร พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง เป็นผู้ทรงอำนาจราชศักดิ์ มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทอง เกื้อหนุนวงศ์ ตระกูลให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป มีความร่มเย็นเป็นสุข มิได้ตกต่ำ เป็นมรดกอันล้ำค่าที่สืบทอดไปยังลูกหลานในกาลข้างหน้า ด้วยเหตุนี้โบราณกาลแต่เก่าก่อนเชื้อพระวงศ์ต่างๆ จึงนิยมสร้างพระชัยเชียงรุ้งไว้สักการบูชาเป็นพระประจำตระกูล

สำหรับพระเชียงรุ้ง เป็นศิลปะลานช้าง ซึ่งนับเข้าในพระพุทธรูปยุค ๗ เชียง ได้แก่….เชียงแสน – เชียงรุ้ง – เชียงใหม่ – เชียงราย – เชียงของ – เชียงตุง – เชียงดาว – เชียงขาง (หลวงพระบาง)

“พระยอดธง” พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระบูชาขนาดเล็ก ใช้คุ้มครองป้องกันภัยเป็นเลิศ ส่วนใหญ่จะสร้างในสมัยอยุธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ผู้ใด สวมใส่จะทำให้เกิดพลานุภาพด้านเมตตา แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันภยันตรายต่างๆ เมื่อนึกถึงสิ่งอื่นใดย่อมจะได้รับความสมหวังดังใจปรารถนา หมู่มวลเทพเทวดาก็เป็นมิตร ศัตรูพินาศแพ้ภัยหายหมดไปสิ้น ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลในการทำศึก สงครามแต่ละครั้ง ไพร่พลที่จะออกรบมักจะสรรหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมหามงคลต่างๆ พกติดตัว ด้วยความเชื่อที่ว่าจะสามารถปกป้องภยันตรายจากข้าศึกศัตรูและรบชนะข้าศึก กลับสู่บ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย ซึ่งความเชื่อนี้ก็ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ตนเอง และนอกจากการสร้างกำลังใจให้ไพร่พลแล้ว ในส่วนของกองทัพสมัยนั้นก็จะมีการเสริมสิริมงคลแก่กอง ทัพโดยอาราธนาพระพุทธรูปลอยองค์ 1 องค์ มาเสียบไว้ที่ยอดธงประจำทัพในแต่ละทัพ เราเรียกกันว่า “พระยอดธง” พระ ยอดธง ส่วนใหญ่พบที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจะมีกระจายอยู่แทบทุกกรุในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปทุมธานี แต่ที่พบมากที่สุดคือ กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปลอยองค์ ที่ไม่มีพุทธลักษณะเฉพาะขององค์พระเหมือนพระพุทธรูปอื่นๆ ซึ่งมีแม่พิมพ์ในการหล่อออกมาในพุทธลักษณะเดียวกัน จะมีทั้งพระพุทธรูปนั่ง พระพุทธรูปยืน ปางประทานพร ปางสมาธิ ปางมารวิชัย พิมพ์มาลัย ฯลฯ และยังมีมากมายหลายเนื้อ ทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อสำริด และเนื้อชินสันนิษฐานว่า ผู้นำของแต่ละเหล่าทัพจะสร้างพระยอดธงตามความเคารพเลื่อมใสในพุทธคุณขององค์ พระนั้นๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่กองทัพและไพร่พลของตน แต่จุดสังเกตสำคัญที่จะทราบว่าเป็น “พระยอดธง” ก็คือ ที่บริเวณพระที่นั่ง (ก้น) ขององค์พระสำหรับพระพุทธรูปนั่ง และที่พระบาทขององค์พระสำหรับพระพุทธรูปยืน จะมี “เดือย” ยื่นออกมาเพื่อใช้เสียบติดกับยอดธง “พระยอดธง”

นับว่ามีชื่อเสียงเป็นที่นิยมและแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระบูชา พระเครื่องอย่างมาก สืบเนื่องจากเป็นพระเก่าแก่ที่ผ่านการศึกสงครามมาแล้ว แสดงถึงพุทธคุณล้นเหลือในการคุ้มครองกองทัพทั้งกองทัพไม่ใช่รายบุคคล จึงเชื่อว่าจะมีความเข้มขลังมากนั่นเอง พระยอดธงที่นับว่าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากที่สุดคือ “พระยอดธง กรุวัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี” เพราะความเป็นเลิศของพุทธคุณปรากฏเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่เล่าขานสืบต่อ กันมา พระยอดธง กรุวัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี จะเป็นพระพุทธรูปลอยองค์ สร้างในสมัยอยุธยา – องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย – พระเมาลีและพระเกศเรียบไม่มีเม็ดปุ่ม – พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน – พระกรรณทั้ง 2 ข้างยาวมาจดพระอังสา – เส้นสังฆาฏิปรากฏชัดเจน – ตรงพระที่นั่ง (ก้น) ขององค์พระจะมีเดือยยื่นออกมา พระยอดธง นับเป็นพระที่หายากยิ่งในปัจจุบัน จึงมีการทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูง การพิจารณาก็ไม่มีพุทธลักษณะเฉพาะที่สังเกตได้ จึงต้องพิจารณาจากความเก่าของเนื้อขององค์พระที่ผ่านกาลเวลามายาวนาน จากหลักการที่ได้ศึกษาร่ำเรียนกันมา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเนื้อทองเก่า เนื้อเงิน เนื้อนาก และเนื้อชิน สำหรับองค์นี้เป็น”เนื้อสัมฤทธิ์เปียกทองคำ”

brinquedos inflaveis

Posted in พระพุทธรูป.