พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าเขมร)

มารวิชัย หน้าเขมร

พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าเขมร)

ความสับสนของการพิจารณาพระพุทธรูปไทยสมัยอู่ทอง หรือ ลพบุรีกับพระพุทธรูปเขมรมักมีอยู่เสมอ ซึ่งต้องยอมรับกันว่ามีเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หลายท่านคงเคยได้ยินว่าศิลปะพระบูชาสมัยอู่ทองของเราสร้างเลียนแบบศิลปะพระบูชาหรือเทวรูปเขมรนั้น  เรื่องนี้คงมีความจริงเพียงบางส่วน เพราะถ้าหากจะพิจารณาพุทธศิลป์ในองค์พระให้ลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว คงบอกได้ไม่ยากว่าพระพุทธรูปองค์ไหนเป็นของไทย องค์ไหนเป็นของเขมร อิทธิพลของงานศิลปะพระเขมร แผ่ขยายเข้ามาในสยามประเทศ ผ่านทางเมืองลพบุรี ในสมัยขอมยุคบายนซึ่งกำลังมีบารมีอำนาจครอบคลุมเข้ามาปกครองแผ่นดินของสยามอยู่หลายส่วนต่อมากษัตริย์ไทยมีพระปรีชาสามารถ บารมีอำนาจมากขึ้นในสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีประกาศอำนาจการปกครองครอบคลุมดินแดน แถบนี้สวนกระแสอำนาจที่เสื่อมลงของขอมและเมื่อบ้านเมืองมีความสงบสุขร่มเย็นลง ปลอดศึกสงคราม ศิลปินสายเลือดไทยจึงเริ่มมีจินตนาการศิลป์ สร้างศิลปะพระพุทธรูปไทยขึ้นในยุคนี้ โดยนำเอาศิลปะความเรียบร้อย อ่อนน้อมละเมียดละไม ซึ่งเป็นอุปนิสัยของคนไทยสอดเข้าผสมผสานกับศิลปะความเข้มแข็ง เงียบขรึมมีอำนาจของขอมก่อให้เกิดพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองที่สง่างาม เข้มขรึมแต่ไม่เข้มแข็งพระพักตร์คลายเครียดออกอาการยิ้มอยู่ในที มีลักษณะสำคัญให้ได้พิจารณากันดังนี้
tobogã inflavel com agua
พระรัศมี เป็นแบบเปลวเพลิง หรือ แบบปลีกล้วย (กาบกล้วยวางซ้อนกัน)

เม็ดพระศก ละเอียดเล็กปลายเรียวแหลมคล้ายหอยจุ๊บแจง

พระพักตร์ เป็นรูปทรงเหลี่ยมขมับนูน ต้นคางใหญ่ ปลายคางเป็นลอนแบบคางคน

ขอบพระกรรณ (หู) ส่วนโค้งบนใบหูมนุษย์ปลายพระกรรณ (ติ่งหู) ยาวปลายงอนขอบออกด้านหน้า

พระขนง (คิ้ว) โก่งยาวจรดกันแบบปีกกา

พระเนตร (ตา) ยาวรี เหลือบมองต่ำมีเนื้อและเปลือกตา

พระนาสิก (จมูก) ใหญ่พองาม (ระยะแรกสุดจมูกแบนเล็กไม่สมส่วนขาดความงดงาม)

พระโอษฐ์ (ปาก) กว้างริมฝีปากบน-ล่างหนา มุมปากทั้งสองด้านงอนขึ้นเล็กน้อย มองดูแสดงพระอาการยิ้มอยู่ในที

ลักษณะการคล้องผ้าจีวร เป็นแบบห่มลดไหล่เฉียงบ่า พาดผ้าสังฆาฎิมีสายรัดประคดปรากฏทั้งหน้า-หลัง ชายผ้าสังฆาฎิด้านหน้ายาวจรดหน้าท้องปลายตัดเป็นเส้นตรง ชายสังฆาฎิด้านหลังยาวจรดสายรัดประคด

พระพุทธรูปอู่ทอง ส่วนใหญ่ที่พบแสดงการนั่งปางมารวิชัยสมาธิราบ องค์พระนั่งอยู่บนฐานเขียงเรียบไม่มีลวดลาย แอ่นกลาง

ภาพพระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทององค์นี้ มีความชัดเจนในรายละเอียดของศิลปะคู่ควรแก่การพิจารณาศึกษา เรียนรู้

 

 

Posted in พระพุทธรูป.