พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัยปางเปิดโลก

(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓)

พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค
replika klockor
ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น

ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก

ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย

 

insuflaveis

 

Posted in พระพุทธรูป.