วัดศาลาลอย
วัดศาลาลอย ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดเก่าแก่ที่ท้าวสุรนารีสร้างขึ้น กับ พระยาสุริยเดช หรือ ปลัดทองคำ ปลัดเมืองนครราชสีมา ผู้เป็นสามี หลังจากที่รบชนะกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2370 หลังจากเสร็จศึกสงครามที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ขณะยกทัพกลับเมืองนครราชสีมา คุณหญิงโมได้แวะพักบริเวณท่าตะโก และได้สั่งให้ทหารทำแพเป็นรูปศาลาเสี่ยงทายลอยไปตามลำตะคอง พร้อมตั้งจิตอธิฐาน หากแพรูปศาลานี้ ลอยไปติดอยู่ ณ ที่แห่งใด จะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งแพได้ลอยไปติดอยู่ริมฝั่งขวาของลำตะคอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จึงได้สร้างพระอุโบสถขึ้น เป็นวัดศาลาลอยในปัจจุบัน
ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 81 ปี เมื่อท้าวสุรนารีถึงแก่กรรม เจ้าพระยามหิศราธิบดีได้จัดการฌาปนกิจศพที่ วัดศาลาลอยและเจ้าพระยามหิศราธิบดี ได้ก่อเจดีย์ (สถูป)บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีไว้ ณ ตรงข้ามหน้าโบสถ์หลังเก่า วัดศาลาลอย ที่ท้าวสุรนารีสร้างไว้ เจดีย์ดังกล่าวยังคงมีอยู่ ณ ปัจจุบัน และที่หน้าอุโบสถหลังเก่านี้ ปัจจุบันก็มีรูปปั้น เจ้าพระยามหิศราธิบดี หรือ ปลัดทองคำ สามีย่าโม อยู่ด้วย
ลักษณะเด่นวัดศาลาลอย
วัดศาลาลอยแตกต่างจากวัดไทยทั่วไป โดยมีความโดดเด่นตรงที่รูปทรงของพระอุโบสถคล้ายเรือสำเภาโต้คลื่น ซึ่งเป็นศิลปะประยุกต์ คือ อุโบสถ์เรือสำเภา (โต้คลื่น) สร้างเมื่อ พ.ศ.2510 อีกทั้งวัดศาลาลอยยังได้รับรางวัลดีเด่นด้านบุกเบิกอาคารอุโบสถทางด้านศาสนาจากสถาปนิกสยามปี พ.ศ.2516 และรางวัลจากมูลนิธิเสถียรโกเศศและนาคะประทีป ใช้วัสดุพื้นเมือง คือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน นำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติตอน มารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร พระนามว่า “พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์” ตรงข้ามหน้าประตูอุโบสถ มีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี
ความสำคัญของวัดศาลาลอยไม่ได้มีเพียงสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่เป็นวัดที่ท้าวสุรนารีพร้อมด้วยเจ้าพระยามหิศราธิบดีสวามีของท่าน สร้างขึ้นหลังจากชนะข้าศึก โดยลอยแพรูปศาลาลงตามลำตะคองและอธิษฐาน หากกระแสน้ำล่องแพไปทางทิศทางใด ก็จะสร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการศึกสงคราม ตรงที่แห่งนั้น
ลักษณะเด่นทางประวัติศาสตร์จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และวัดศาลาลอย เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานมากว่า 200 ปี มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวโคราชเคารพนับถืออย่างมาก เนื่องจากวัดศาลาลอยนี้เป็นวัดที่ท้าวสุรนารีพร้อมด้วยเจ้าพระยามหิศราธิบดีสวามีของท่าน สร้างขึ้นหลังจากชนะข้าศึก รบชนะกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2370 เมื่อครั้งท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม เสร็จศึกสงครามจากทุ่งสัมฤทธิ์ ขณะยกทัพกลับเมืองนครราชสีมา ได้แวะพักบริเวณท่าตะโก และได้สั่งให้ทหารทำแพเป็นรูปศาลาเสี่ยงทายลอยไปตามลำตะคอง พร้อมตั้งจิตอธิฐาน หากแพรูปศาลานี้ ลอยไปติดอยู่ ณ ที่แห่งใด จะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งแพได้ลอยไปติดอยู่ริมฝั่งขวาของลำตะคอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จึงได้สร้างพระอุโบสถขึ้น และได้นมัสการพระประธาน และพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประดิษฐานไว้ และได้ชื่อวัดศาลาลอยจากนั้นมา ภายหลังที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้วมีการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นภายในวัด วัดแห่งนี้จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราชสืบมา
ประวัติท้าวสุรนารี(ย่าโม)
ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า “โม” (แปลว่า ใหญ่มาก)หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกาพ.ศ. 2314สมัยกรุงเทพมีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก(ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจนทุกวันนี้)
เมื่อปีพ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 35 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมา นายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระภักดีสุริยเดช” ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา “พระภักดีสุริยเดช” ได้เลื่อนเป็น “พระยาสุริยเดช” ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า “คุณหญิงโม” และ “พระยาปลัดทองคำ” ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลัง และอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการ ใดๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญ ที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ ท้าวสุรนารี เป็นคนมีสติปัญญา หลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลาน ไปทำบุญที่วัดสระแก้ว เป็น ประจำเสมอ ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395(เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 133 ปี
ท่านได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่โดยสามารถรวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์ไม่ให้รุกล้ำเข้ามาตีกรุงเทพฯเป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 แห่งราชวงศ์จักรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวโคราชทุกคน ผู้คนจากทั่วทุกถิ่นมักแวะเวียนกันมากราบนมัสการไม่ขาดสาย ทั้งกลางวัน และกลางคืน เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อกราบไหว้ขอพร เสมือนที่พึ่งทางใจของ ชุมชน ชาวเมืองนครราชสีมา ชาวโคราชมักจะมาบนบานศาลกล่าวขอสิ่งต่างๆจากย่าโม เช่นขอให้มีงานทำ ขอให้มีลูก เมื่อสมประสงค์แล้วก็จะแก้บน ด้วยสิ่งของ ที่กล่าวไว้ โดยเฉพาะการบนด้วยสิ่งที่ย่าโมโปรดปรานคือ เพลงโคราช
วัดศาลาลอยกับเพลงโคราช
เพลงโคราช เป็นการร้องเพลงโต้ตอบที่พัฒนาไป เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวจังหวัดนครราชสีมาหรือ โคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน มีเอกลักษณ์ อยู่ที่การร้องรำเป็นภาษาโคราช ปรากฏหลักฐานชัดเจน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัด นครราชสีมาเพื่อทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จฯ พิมาย ในโอกาสรับเสด็จครั้งนั้น หมอเพลงชายรุ่นเก่า ชื่อเสียงโด่งดังมากชื่อ นายหรี่ บ้านสวนข่า ได้มีโอกาส เล่นเพลงโคราชถวาย
ในสมัยก่อนเพลงโคราชเป็นที่นิยมมาก เพราะการ แสดงมหรสพต่างๆ มีเพลงโคราชเพียงอย่างเดียว คนฟัง เพลงก็มีเวลามาก ฟังกันตั้งแต่หัวค่ำจนรุ่งเช้า เมื่อหมอเพลง เล่นเพลงลา คือ ลาผู้ฟัง ลาเจ้าภาพ และเพื่อนหมอเพลง ด้วยกัน จะมีปี่พาทย์ ฆ้อง กลอง บรรเลงรับ หมอเพลง จะรำตามกันไปยังบ้านเจ้าภาพ เจ้าภาพก็จะนำเงินค่า หมอเพลงมาให้ พร้อมทั้งเลี้ยงข้าวปลา อาหาร และห่อข้าว ของกินต่างๆ ให้เป็นเสบียงในการเดินทางกลับ คนฟังจะอยู่ ร่วมฟังงานจนเสร็จสิ้นกระบวนการจึงทยอยกลับ
ปัจจุบันค่านิยมของผู้ฟังเพลงโคราชเปลี่ยนแปลง ไปมากทั้งด้านเนื้อหา รูปแบบการแสดง และความนิยมของ คนโคราชเอง
เนื้อหาของเพลงโคราชขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะเล่น หมอเพลงโคราชรุ่นเก่าเน้นการใช้ปฏิภาณไหวพริบเล่าเรื่อง นิทานชาดก และเคร่งครัดมากในเรื่องสอนศีลธรรม หมอเพลงโคราชในอดีตทำหน้าที่เป็นผู้แพร่ข่าวสาร เพราะ เป็นผู้มีประสบการณ์กว้างไกล พบเห็นเหตุการณ์และผู้คนหลากหลาย หมอเพลงโคราชและคนฟังเพลงโคราชในอดีต จึงมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเป็นคนในสังคม เดียวกัน จึงเข้าใจปัญหาของกันและกัน แต่หมอเพลงโคราช รุ่นใหม่ มักเล่นตามคำเรียกร้องของผู้ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน และสนุกสนาน
ด้วยเหตุนี้ เพลงโคราชจึงค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง แต่เนื่องจากในยุคปัจจุบันมีความเชื่อว่าท้าวสุรนารีในสมัย ที่ยังมีชีวิตอยู่ (พ.ศ. ๒๓๑๓-๒๓๙๕) ท่านชอบเพลง โคราชมาก จึงมีผู้หาเพลงโคราชไปเล่นแก้บน ณ บริเวณ ใกล้ๆ กับอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในตอนกลางคืนเป็นประจำ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หมอเพลงโคราช ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ยังคงสามารถประกอบอาชีพ อยู่ได้ ตัวอย่างคณะเพลงโคราชที่โดดเด่นอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ปัจจุบัน จุดเด่นอย่างหนึ่งของวัดนี้ อยู่ที่อุโบสถหลังใหม่ ที่ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยามปี และรางวัลจากมูลนิธิเสถียรโกเศศและนาคะประทีป พ.ศ. 2516 ด้วยความโดดเด่นในด้านศิลปะประยุกต์ ตัวอุโบสถเป็นทรงเรือสำเภาโต้คลื่นที่ใช้วัสดุพื้นเมือง คือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์)
ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร พระนามว่า “พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์” หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี (ปัจจุบันอัฐิของท่านประดิษฐานอยู่ที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ใจกลางเมือง)
ผนังด้านหน้าเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ด้านหน้าอุโบสถเป็นสระน้ำ มีศาลากลางสระน้ำภายในมีรูปปั้นคุณย่าโมนั่งพนมมือและยังเป็นอนุสรณ์สถาน เจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีด้วย
ความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ ชาวโคราชและชาวต่างถิ่นนิยมเดินทางมาสักการะรูปปั้น และเจดีย์บรรจุอัฐิย่าโมที่วัดศาลาลอยนี้ เพื่อบนบานขอพรย่าโมให้ปกป้องคุ้มครอง โดยเฉพาะในเรื่องของความรักและคู่ครอง มีความเชื่อว่า ย่าโม จะสามารถดลบันดาลให้สมหวังได้ในที่สุด และเมื่อได้รับความสำเร็จดังใจอธิษฐานแล้ว ก็มักจะแก้บนด้วยเพลงโคราชที่มีทั้งนักร้อง และนักรำแต่งตัวสวยงาม เพราะเชื่อว่าย่าโมนั้นชอบฟังเพลงโคราชเป็นชีวิตจิตใจ
หากเดินทางมาไหว้ย่าโมที่ในตัวเมือง น่าจะลองหาโอกาสแวะเยี่ยมชมและสักการะไหว้ย่าที่วัดศาลาลอยแห่งนี้ด้วย เพื่อความเป็นสิริมงมล โดยเฉพาะท่านที่กำลังมีความรัก เพราะมีความเชื่อว่าย่าโมจะบันดาลให้ได้สมหวัง แล้วอย่าลืมสักการะ พระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ อุโบสถหลังเก่า ด้วยนะครับ (หากสมหวังแล้วก็อย่าลืมแก้บนด้วยเพลงโคราชพร้อมนักรำนักเต้นด้วยนะ)
การเดินทาง
วัดศาลาลอย ตั้งอยู่ติดกับลำตะคองซึ่งไหลพาดผ่านตอนเหนือของตัวเมืองไปลงสู่แม่น้ำมูลอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง จากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปตามถนนชุมพล ซึ่งเป็นถนนรอบเมือง เส้นที่จะไปบุรีรัมย์ ตรงไปจนถึงหัวโค้งจะพบกับทางเข้าวัดด้านซ้ายมือ เลี้ยวเข้าไปประมาณ 500 เมตรก็ถึงแล้วครับ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
– Wikipedia, ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยนครราชสีมา
– เว็บไซต์สมาคมสถาปนิกสยาม หน้า News and Event
http://www.khaoyaizone.com/นครราชสีมา-อำเภอเมือง-วัด-ศาลาลอย-ย่าโม-ท้าวสุรนารี-โบส-เรือสำเภา