พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยาปางมารวิชัย (ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๒๕)

มารวิชัย อยุธยาพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยาปางมารวิชัย

(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๒๕)

พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นของช่างฝีมือช่างไทยครั้งสมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำแบบอย่างต่างกันเป็น ๒ ยุค ยุคแรกนิยมทำตามแบบขอม แต่เอาอย่างขอมเฉพาะวงพระพักตร์เท่านั้น ยุคนี้เรียกว่าฝีมือช่างสมัยอู่ทอง นับเวลาตั้งแต่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยามาจนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ. ๒๐๓๑)

ลักษณะ เกตุมาลายาว เส้นพระศกละเอียด replicas de relojes rolex มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระหนุป้านเป็นรูปคางคน สังฆาฏิยาว ชายอันตรวาสกข้างบนเป็นสัน ขัดสมาธิราบ ฐานหน้ากระดานเป็นร่องและแอ่นเข้าไปข้างใน ลักษณะเหมือนกันทั้งนั้น ต่างแต่ในชั้นหลังมาทำพระพักตร์ยาวกว่าชั้นก่อนเท่านั้น

ยุคหลังตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔ จน พ.ศ. ๒๓๒๕) ลักษณะ ทำวงพระพักตร์และเกตุมาลาตามแบบอย่างสมัยสุโขทัยทั้งนั้น ต่างแต่โดยมากมีไรพระศก และสังฆาฏิใหญ่ กับถ้าทรงเครื่อง เกตุมาลาทำเป็นอย่างก้นหอยหลายๆชั้นบ้าง เป็นอย่างมงกุฎเทวรูปแบบสมัยลพบุรีบ้างเท่านั้น ทำเป็นปางต่างๆ ดังนี้คือ

 

๑. ปางไสยา ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

๒. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ และสมาธิเพชร(แต่มีน้อย) ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น

๓. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น

๔. ปางประทานอภัย มีทั้งอย่างยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะ

๕. ปางปาลิไลยกะ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

๖. ปางลีลา ทำด้วยโลหะ

 

Posted in พระพุทธรูป.