พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าไทย)

ปางมารวิชัย หน้าไทย

พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าไทย)

พระพุทธรูปสมัยนี้ ได้รับอิทธิพลศิลปผสมผสานกันระหว่างศิลปร่วม ๓ รูปแบบ ได้แก่ ศิลปทวารวดี ศิลปขอมหรือลพบุรี และศิลปสุโขทัย ดังนั้น พระพุทธรูปสมัยนี้ จึงจัดออกได้ตามอิทธิพลศิลปเป็น ๓ แบบ คือ

 

๑. อิทธิพลศิลปทวารวดี และขอม ผสมกัน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘

 

๒. อิทธิพลศิลปขอมหรือลพบุรีมากขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นักโบราณคดีเรียกว่า “อู่ทองหน้าแก่”

๓. อิทธิพลศิลปสุโขทัยเข้ามาปะปน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นักโบราณคดีเรียกว่า “อู่ทองหน้าหนุ่ม”

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง

พระพุทธรูปสมัยอู่ทองมีลักษณะงดงามและกล้าหาญอย่างนักรบ Replicas Golden Goose เข้มแข็งดูน่าเกรงขาม พระวรกายสูงชะลูด พระเศียรมีสัณฐานรูปคล้ายบาตรคว่ำ พระเกศาเป็นหนามขนุนละเอียดกว่าสมัยสุโขทัยมาก มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระพักตร์แบน พระหนุกว้างเป็นรูปคางคน พระเกตุมาลาเป็นเปลวบ้าง เป็นแบบฝาชีครอบบ้าง พระนลาตกว้าง สังฆาฏิสั้นเหนือพระถันคล้ายสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่งก็มี ส่วนใหญ่สังฆาฏิจะแบนยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายสังฆาฏิตัดตรงก็มี เฉียงก็มี เป็นแฉกเขี้ยวตะขาบก็มี มีขอบอันตรวาสก(สะบง)ชัดเจน นั่งขัดสมาธิราบเป็นส่วนใหญ่หรือขัดสมาธิฺเพชรก็มี(มีน้อย) ปางมารวิชัยหรือปางสมาธิ(มีน้อย) ฐานเป็นแบบหน้ากระดาน ๑ – ๒ ชั้นมีสันเกลี้ยงแอ่นเข้าข้างใน และมีทั้งฐานบัวคว่ำบัวหงาย หรือบัวหงายอย่างเดียวอีกด้วย

 

 

พระพุทธรูปสมัยเชียงรุ้งปางมารวิชัย(ล้านช้าง)

มารวิชัย ล้านช้าง
พระพุทธรูปสมัยเชียงรุ้งปางมารวิชัย(ล้านช้าง)

พระยอดธง สมัยเชียงรุ้ง

ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลในการทำศึกสงครามแต่ละครั้ง ไพร่พลที่จะออกรบมักจะสรรหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมหามงคลต่างๆ พกติดตัว ด้วยความเชื่อที่ว่าจะสามารถปกป้องภยันตรายจากข้าศึกศัตรูและรบชนะข้าศึกกลับสู่บ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย ซึ่งความเชื่อนี้ก็ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ตนเอง และนอกจากการสร้างกำลังใจให้ไพร่พลแล้ว ในส่วนของกองทัพสมัยนั้นก็จะมีการเสริมสิริ

มงคลแก่กอง ทัพโดยอาราธนาพระพุทธรูปลอยองค์ 1 องค์ มาเสียบไว้ที่ยอดธงประจำทัพในแต่ละทัพ เราเรียกกันว่า “พระยอดธง”

ตำนานการสร้างพระชัยเชียงรุ้ง พระชัยหลังช้าง พระชัยยอดธง กล่าวกันว่า หากผู้ใดได้สร้างพระชัยเชียงรุ้ง ตามตำราโบราณไว้สักการะบูชา ผู้นั้นจะมีชัยชนะ แก่อธิราช ศัตรู หมู่มาร พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง เป็นผู้ทรงอำนาจราชศักดิ์ มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทอง เกื้อหนุนวงศ์ ตระกูลให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป มีความร่มเย็นเป็นสุข มิได้ตกต่ำ เป็นมรดกอันล้ำค่าที่สืบทอดไปยังลูกหลานในกาลข้างหน้า ด้วยเหตุนี้โบราณกาลแต่เก่าก่อนเชื้อพระวงศ์ต่างๆ จึงนิยมสร้างพระชัยเชียงรุ้งไว้สักการบูชาเป็นพระประจำตระกูล

สำหรับพระเชียงรุ้ง เป็นศิลปะลานช้าง ซึ่งนับเข้าในพระพุทธรูปยุค ๗ เชียง ได้แก่….เชียงแสน – เชียงรุ้ง – เชียงใหม่ – เชียงราย – เชียงของ – เชียงตุง – เชียงดาว – เชียงขาง (หลวงพระบาง)

“พระยอดธง” พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระบูชาขนาดเล็ก ใช้คุ้มครองป้องกันภัยเป็นเลิศ ส่วนใหญ่จะสร้างในสมัยอยุธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ผู้ใด สวมใส่จะทำให้เกิดพลานุภาพด้านเมตตา แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันภยันตรายต่างๆ เมื่อนึกถึงสิ่งอื่นใดย่อมจะได้รับความสมหวังดังใจปรารถนา หมู่มวลเทพเทวดาก็เป็นมิตร ศัตรูพินาศแพ้ภัยหายหมดไปสิ้น ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลในการทำศึก สงครามแต่ละครั้ง ไพร่พลที่จะออกรบมักจะสรรหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมหามงคลต่างๆ พกติดตัว ด้วยความเชื่อที่ว่าจะสามารถปกป้องภยันตรายจากข้าศึกศัตรูและรบชนะข้าศึก กลับสู่บ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย ซึ่งความเชื่อนี้ก็ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ตนเอง และนอกจากการสร้างกำลังใจให้ไพร่พลแล้ว ในส่วนของกองทัพสมัยนั้นก็จะมีการเสริมสิริมงคลแก่กอง ทัพโดยอาราธนาพระพุทธรูปลอยองค์ 1 องค์ มาเสียบไว้ที่ยอดธงประจำทัพในแต่ละทัพ เราเรียกกันว่า “พระยอดธง” พระ ยอดธง ส่วนใหญ่พบที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจะมีกระจายอยู่แทบทุกกรุในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปทุมธานี แต่ที่พบมากที่สุดคือ กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ลักษณะจะเป็นพระพุทธรูปลอยองค์ ที่ไม่มีพุทธลักษณะเฉพาะขององค์พระเหมือนพระพุทธรูปอื่นๆ ซึ่งมีแม่พิมพ์ในการหล่อออกมาในพุทธลักษณะเดียวกัน จะมีทั้งพระพุทธรูปนั่ง พระพุทธรูปยืน ปางประทานพร ปางสมาธิ ปางมารวิชัย พิมพ์มาลัย ฯลฯ และยังมีมากมายหลายเนื้อ ทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อสำริด และเนื้อชินสันนิษฐานว่า ผู้นำของแต่ละเหล่าทัพจะสร้างพระยอดธงตามความเคารพเลื่อมใสในพุทธคุณขององค์ พระนั้นๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่กองทัพและไพร่พลของตน แต่จุดสังเกตสำคัญที่จะทราบว่าเป็น “พระยอดธง” ก็คือ ที่บริเวณพระที่นั่ง (ก้น) ขององค์พระสำหรับพระพุทธรูปนั่ง และที่พระบาทขององค์พระสำหรับพระพุทธรูปยืน จะมี “เดือย” ยื่นออกมาเพื่อใช้เสียบติดกับยอดธง “พระยอดธง”

นับว่ามีชื่อเสียงเป็นที่นิยมและแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระบูชา พระเครื่องอย่างมาก สืบเนื่องจากเป็นพระเก่าแก่ที่ผ่านการศึกสงครามมาแล้ว แสดงถึงพุทธคุณล้นเหลือในการคุ้มครองกองทัพทั้งกองทัพไม่ใช่รายบุคคล จึงเชื่อว่าจะมีความเข้มขลังมากนั่นเอง พระยอดธงที่นับว่าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากที่สุดคือ “พระยอดธง กรุวัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี” เพราะความเป็นเลิศของพุทธคุณปรากฏเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่เล่าขานสืบต่อ กันมา พระยอดธง กรุวัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี จะเป็นพระพุทธรูปลอยองค์ สร้างในสมัยอยุธยา – องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย – พระเมาลีและพระเกศเรียบไม่มีเม็ดปุ่ม – พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน – พระกรรณทั้ง 2 ข้างยาวมาจดพระอังสา – เส้นสังฆาฏิปรากฏชัดเจน – ตรงพระที่นั่ง (ก้น) ขององค์พระจะมีเดือยยื่นออกมา พระยอดธง นับเป็นพระที่หายากยิ่งในปัจจุบัน จึงมีการทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูง การพิจารณาก็ไม่มีพุทธลักษณะเฉพาะที่สังเกตได้ จึงต้องพิจารณาจากความเก่าของเนื้อขององค์พระที่ผ่านกาลเวลามายาวนาน จากหลักการที่ได้ศึกษาร่ำเรียนกันมา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเนื้อทองเก่า เนื้อเงิน เนื้อนาก และเนื้อชิน สำหรับองค์นี้เป็น”เนื้อสัมฤทธิ์เปียกทองคำ”

 

พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวารวดีปางนาคปรก(หลวงพ่อศิลา)

นาคปรก หลวงพ่อศิลา

พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวารวดีปางนาคปรก(หลวงพ่อศิลา)

หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ปางสมาธิ สกัดจากหินทรายสีเทา ที่กระบังหน้ามีแนวขึ้นตรงกลาง ลักษณะบ่งบอกว่าทำขึ้นในประเทศไทย มีลักษณะพิเศษชัดเจนคือมีผ้าทิพย์รองรับตัวองค์พระ ปกติจะเป็นเส้นตรง มีลายดอกจันที่ขุดลึกลงไปในเนื้อหิน ต่างจากส่วนใหญ่เป็นลายขีดธรรมดา ทรงกรองศอพาหุรัด สวมศิราภรณ์ สวมมงกุฎเทริด พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยมคล้ายศิลปะขอมโบราณ พระพักตร์ไม่แย้มพระโอษฐ์เหมือนศิลปะบายน ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานขนาดนาคสามชั้น นาคที่ปรกอยู่เหนือพระเศียรมีเจ็ดเศียร ด้านหลังหางนาคพาดขึ้นมาถึงลำตัว มีลวดลายแบบศิลปะลพบุรี สร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราชที่18-19 ขนาดองค์พระ วัดจากรากฐานถึงปลายยอดเศียรนาคสูง 85.50 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 44 เซนติเมตร น้ำหนัก 126.5 กิโลกรัม
bolsos imitacion lv

พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าเขมร)

มารวิชัย หน้าเขมร

พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทองปางมารวิชัย(หน้าเขมร)

ความสับสนของการพิจารณาพระพุทธรูปไทยสมัยอู่ทอง หรือ ลพบุรีกับพระพุทธรูปเขมรมักมีอยู่เสมอ ซึ่งต้องยอมรับกันว่ามีเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หลายท่านคงเคยได้ยินว่าศิลปะพระบูชาสมัยอู่ทองของเราสร้างเลียนแบบศิลปะพระบูชาหรือเทวรูปเขมรนั้น  เรื่องนี้คงมีความจริงเพียงบางส่วน เพราะถ้าหากจะพิจารณาพุทธศิลป์ในองค์พระให้ลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว คงบอกได้ไม่ยากว่าพระพุทธรูปองค์ไหนเป็นของไทย องค์ไหนเป็นของเขมร อิทธิพลของงานศิลปะพระเขมร แผ่ขยายเข้ามาในสยามประเทศ ผ่านทางเมืองลพบุรี ในสมัยขอมยุคบายนซึ่งกำลังมีบารมีอำนาจครอบคลุมเข้ามาปกครองแผ่นดินของสยามอยู่หลายส่วนต่อมากษัตริย์ไทยมีพระปรีชาสามารถ บารมีอำนาจมากขึ้นในสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีประกาศอำนาจการปกครองครอบคลุมดินแดน แถบนี้สวนกระแสอำนาจที่เสื่อมลงของขอมและเมื่อบ้านเมืองมีความสงบสุขร่มเย็นลง ปลอดศึกสงคราม ศิลปินสายเลือดไทยจึงเริ่มมีจินตนาการศิลป์ สร้างศิลปะพระพุทธรูปไทยขึ้นในยุคนี้ โดยนำเอาศิลปะความเรียบร้อย อ่อนน้อมละเมียดละไม ซึ่งเป็นอุปนิสัยของคนไทยสอดเข้าผสมผสานกับศิลปะความเข้มแข็ง เงียบขรึมมีอำนาจของขอมก่อให้เกิดพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองที่สง่างาม เข้มขรึมแต่ไม่เข้มแข็งพระพักตร์คลายเครียดออกอาการยิ้มอยู่ในที มีลักษณะสำคัญให้ได้พิจารณากันดังนี้

พระรัศมี เป็นแบบเปลวเพลิง หรือ แบบปลีกล้วย (กาบกล้วยวางซ้อนกัน)

เม็ดพระศก ละเอียดเล็กปลายเรียวแหลมคล้ายหอยจุ๊บแจง

พระพักตร์ เป็นรูปทรงเหลี่ยมขมับนูน ต้นคางใหญ่ ปลายคางเป็นลอนแบบคางคน

ขอบพระกรรณ (หู) ส่วนโค้งบนใบหูมนุษย์ปลายพระกรรณ (ติ่งหู) ยาวปลายงอนขอบออกด้านหน้า

พระขนง (คิ้ว) โก่งยาวจรดกันแบบปีกกา

พระเนตร (ตา) ยาวรี เหลือบมองต่ำมีเนื้อและเปลือกตา

พระนาสิก (จมูก) ใหญ่พองาม (ระยะแรกสุดจมูกแบนเล็กไม่สมส่วนขาดความงดงาม)

พระโอษฐ์ (ปาก) กว้างริมฝีปากบน-ล่างหนา มุมปากทั้งสองด้านงอนขึ้นเล็กน้อย มองดูแสดงพระอาการยิ้มอยู่ในที

ลักษณะการคล้องผ้าจีวร เป็นแบบห่มลดไหล่เฉียงบ่า พาดผ้าสังฆาฎิมีสายรัดประคดปรากฏทั้งหน้า-หลัง ชายผ้าสังฆาฎิด้านหน้ายาวจรดหน้าท้องปลายตัดเป็นเส้นตรง ชายสังฆาฎิด้านหลังยาวจรดสายรัดประคด

พระพุทธรูปอู่ทอง ส่วนใหญ่ที่พบแสดงการนั่งปางมารวิชัยสมาธิราบ องค์พระนั่งอยู่บนฐานเขียงเรียบไม่มีลวดลาย แอ่นกลาง

ภาพพระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทององค์นี้ มีความชัดเจนในรายละเอียดของศิลปะคู่ควรแก่การพิจารณาศึกษา เรียนรู้

 

 

พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย

sbpface1

พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย

ลักษณะพระเกศจะเป็นก้นหอย

รัศมีจะเป็นเปลวเพลิง

จีวร มีทั้งจีวรเรียบ, และจีวรริ้ว

ฐานบัว , ฐานทับเสร็จ

ประเภทพระนั่ง มี 3 ปาง

– สมาธิ , สดุ้งมาร (ชนะมาร) , ประทานพร

ความเป็นมาของปางมารวิชัย

ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ พญามารวสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมฃล์สูง ๑๕๐ โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ พญามารเนรมิตร่างสูงใหญ่มีมือนับพันถือศัสตราวุธพร้อม นำเหล่าเสนามารมากมายมืดฟ้ามัวดิน เหล่าเทวดาทั้งหลายหนีไปหมด แต่พระบรมโพธิสัตว์มิได้หวาดกลัว พวกมารซัดศัสตราวุธเข้าใส่พระบรมโพธิสัตว์ แต่ศัสตราวุธเหล่านั้นกลายเป็นบุปผามาลัยไปสิ้น พญามารยังกล่าวทึกทักว่า รัตนบัลลังก์เป็นของตน พระบรมโพธิสัตว์ ทรงกล่าวว่า รัตนบัลลังก์นี้เกิดมาด้วยบุญที่พระองค์สั่งสมมาแต่ปางก่อน โดยอาศัยแม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีได้ปล่อยมวยผมบีบน้ำ กรวดอุทิศผลบุญจากการทำทานของพระบรมโพธิสัตว์ให้ไหลพัดพาเหล่ามารไปจนสิ้น

พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนปางมารวิชัยสิงห์๒

มารวิชัยสิง 2

พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนปางมารวิชัยสิงห์๒

พุทธลักษณะ สิงห์หนึ่ง สิงห์สอง และสิงห์สาม หรือพระเชียงแสนนี้ ดังที่เรารู้กันแล้วว่า replika órák สิงห์หนึ่งและสิงห์สองหรือพระเชียงแสนยุคตั้นนั้น มีพระเกศเป็นลักษณะบัวตูม พระศกขมวดเป็นก้นหอยชัดเจน สังฆาฎิอยู่เหนือราวนมปลายเป็นแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ replicas relojes ลักษณะปางมารวิชัย หรือปางสะดุ้งมาร ประทับนั่งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย เกสรเป็นเส้นริ้วยาวสูง

ข้อแตกต่างระหว่างสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง ก็คือ สิงห์สองพระเนตรเบิกกว้าง และฐานบัวคว่ำบัวหงายไม่ประณีตเท่ากับสิงห์หนึ่งส่วนสิงห์สามนั้น พุทธลักษณะเหมือนกับสิงห์หนึ่ง สิงห์สองแทบทุกประการ ยกเว้นพระเกศส่วนบนมีลักษณะเป็นเปลวเพลิงสังฆาฎิยาวจรดนาภี และประทับนั่งขัดสมาธิราบ

 

พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนปางมารวิชัยสิงห์๑

มารวิชัยสิง1

พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนปางมารวิชัยสิงห์๑

พุทธลักษณะ สิงห์หนึ่ง สิงห์สอง และสิงห์สาม หรือพระเชียงแสนนี้ ดังที่เรารู้กันแล้วว่า สิงห์หนึ่งและสิงห์สองหรือพระเชียงแสนยุคตั้นนั้น มีพระเกศเป็นลักษณะบัวตูม พระศกขมวดเป็นก้นหอยชัดเจน สังฆาฎิอยู่เหนือราวนมปลายเป็นแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ ลักษณะปางมารวิชัย หรือปางสะดุ้งมาร ประทับนั่งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย เกสรเป็นเส้นริ้วยาวสูง

ข้อแตกต่างระหว่างสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง ก็คือ สิงห์สองพระเนตรเบิกกว้าง และฐานบัวคว่ำบัวหงายไม่ประณีตเท่ากับสิงห์หนึ่งส่วนสิงห์สามนั้น พุทธลักษณะเหมือนกับสิงห์หนึ่ง สิงห์สองแทบทุกประการ ยกเว้นพระเกศส่วนบนมีลักษณะเป็นเปลวเพลิงสังฆาฎิยาวจรดนาภี และประทับนั่งขัดสมาธิราบ

พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยปางมารวิชัยปางเปิดโลก

(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓)

พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค
replika klockor
ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น

ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก

ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย

 

 

 

พระแก้วมรกต

DSC_0164

          พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ต. เวียง เมืองเชียงราย[1] (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปีพ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ.1434) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ replicas relojes ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว หลังสงครามโลกครั้งที่สอง